ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง (High-Risk Pregnancy)
ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง มักพบในสตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี โดยสตรีที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เรามาทำความรู้จักกับภาวะนี้กันดีกว่า
ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง มักพบในสตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี โดยสตรีที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามการที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงไม่ได้หมายความว่าคุณแม่และลูกในครรภ์จะมีปัญหาสุขภาพเสมอไป บางรายนั้นก็ไม่ประสบปัญหาด้านสุขภาพและสามารถให้กำเนิดบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงได้เช่นกัน
อาการครรภ์เสี่ยงสูง เป็นอย่างไร?
การตั้งครรภ์นั้นจะถือว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง หากสตรีตั้งครรภ์มีอาการ ดังต่อไปนี้
มีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นปวดท้องน้อยส่วนล่างหรือมดลูกแข็งเกร็งไม่หายปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว
- หายใจลำบากจุกแน่นใต้ลิ้นปี่
- มือ เท้า ใบหน้าบวมเฉียบพลัน
- เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม
- อ่อนเพลียมาก
- มีไข้สูงกว่า 38C
- ปัสสาวะแสบขัด
- คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง
- มีความคิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตรในครรภ์
ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
- สูบบุหรี่
- ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
- สัมผัสสารพิษ
- มีโรคประจำตัวหรือปัญหาด้านการตั้งครรภ์มาก่อน
- อายุ สตรีตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 17 ปีมีแนวโน้มที่จะไปฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอ ยังไม่มีความพร้อม ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวเล็ก ครรภ์เป็นพิษ และมีภาวะโลหิตจาง สตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกหลังอายุ 35 ปีมีโอกาสแท้งและมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาศการมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่เคยมีโรคประจำตัวหรือมีประวัติปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ จะเพิ่มโอกาสการมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- โควิด-19
- โรคเบาหวาน
- โรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น
- โรคเอชไอวีหรือเอดส์
- โรคความดันโลหิตสูง
- น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตราฐาน (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5)
- ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า
- โรคอ้วน
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- โรคไต
- โรคไทรอยด์
โรคที่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและบุตร ได้แก่ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ทารกมีความพิการแต่กำเนิด การตั้งครรภ์แฝด ภาวะครรภ์เป็นพิษจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการชักร่วมด้วย มีประวัติคลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และภาวะรกเกาต่ำ รกเกาะแน่น เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนครรภ์เสี่ยงสูง
ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอาจสูงขึ้น ดังนี้
- การผ่าตัดคลอด
- ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการชักร่วมด้วย
- ภาวะครรภ์เป็นพิษจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
- การคลอดก่อนกำหนด
- เลือดออกมากระหว่างเจ็บท้องคลอด ขณะคลอด หรือตกเลือดหลังคลอด
- น้ำหนักตัวของเด็กน้อยหรือมากเกินไป
- ทารกพิการแต่กำเนิด
- แท้งบุตร
- ทารกตายคลอด
การตรวจวินิจฉัยภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
การสอบถามประวัติโรคประจำตัวและประวัติการตั้งครรภ์ในครรภ์ก่อน ๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งมารดาและบุตร
- อัลตราซาวด์เฉพาะจุด (Specialized/targeted ultrasound) เมื่อมีความเสี่ยงของทารกพิการตั้งแต่กำเนิด และเป็นการประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- Cell-free DNA screening เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมบางตัว โดยจะทำการเจาะเลือดของแม่เพื่อตรวจดูดีเอ็นเอของแม่และบุตรในครรภ์ และคัดกรองหาความเสี่ยงของความผิดปกติของโครโมโซมที่กำหนดเพศ (โครโมโซม X และ Y) กลุ่มอาการพาทัวร์ (Trisomy 13) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18) หรือโรคดาวน์ซินโดรม (trisomy 21)
- การเจาะน้ำคร่ำและการตัดชิ้นรกไปตรวจ เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมและโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
- การเจาะน้ำคร่ำ: โดยแพทย์จะใช้เข็มเจาะดูดน้ำคร่ำผ่านทางหน้าท้องในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
- การตัดชิ้นรกไปตรวจ: แพทย์จะทำการตัดชิ้นรกในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์
- การอัลตราซาวด์ วัดความยาวปากมดลูก เพื่อประเมินความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
- การประเมินความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ เป็นการติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์โดยการอัลตราซาวด์ เพื่อประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ การเคลื่อนไหว และการดิ้นของทารกในครรภ์ รวมไปถึงปริมาณน้ำคร่ำ และตำแหน่งของรก
- การตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและโรคอื่น ๆ เช่น ซิฟิลิสและเอชไอวี
การดูแลรักษาเมื่อมีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
- หมั่นไปพบสูตินรีแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และอาการอื่น ๆ ระหว่างตั้งครรภ์
- การตรวจติดตามและควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- ตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
- การนับลูกดิ้นในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
ทั้งนี้หากทั้งมารดาและบุตรอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการกระตุ้นการคลอดหรือผ่าตัดคลอด
การป้องกันภาวะครรภ์เสี่ยงสูง
- การวางแผนและตรวจร่างกายก่อนมีบุตร
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติสุขภาพส่วนตัวหรือของครอบครัวสายตรง และจัดการควบคุมโรคประจำตัวที่มี
- เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารเสพติด
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมก่อนตั้งครรภ์
การพยากรณ์โรค
แม้ว่าสตรีที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงอาจไม่ประสบกับปัญหาใด ๆ ขณะตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร แต่อาจประสบกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในอนาคตได้เช่นกัน เช่น ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ภาวะครรภ์เสี่ยงสูงยังเพิ่มความเสี่ยงของบุตรที่จะมีปัญหาด้านการหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร ภาวะการเจริญเติบโตและการพัฒนาล่าช้า โรคทางระบบประสาท โรคอ้วน โรคเบาหวาน ปัญหาทางพฤติกรรม ปัญหาด้านทันตกรรม การได้ยิน และการมองเห็น
คลังเก็บ
Calendar
จ. | อ. | พ. | พฤ. | ศ. | ส. | อา. |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
หมวดหมู่
- ไม่มีหมวดหมู่